Alienum phaedrum torquatos nec eu, vis detraxit periculis ex, nihil expetendis in mei. Mei an pericula euripidis, hinc partem.
 

Blog

เชฟรอน สนุกวิทย์ฯ ร่วมกับ ม.ขอนแก่น ต่อยอดการพัฒนาช่างเทคนิคมืออาชีพ เปิดตัว TVET Hub ยกระดับสะเต็มศึกษา พร้อมรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอาหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ที่ 4 จากซ้าย) นายสุชัย บุตรสาระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น (ที่ 3 จากขวา) รศ. ดร. ลำปาง แม่นมาตย์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์ ม.ขอนแก่น (ที่ 4 จากขวา) และ โครงการเชฟรอน สนุกวิทย์ฯ นำโดย นายไพโรจน์ กวียานันท์ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมเปิดศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อยกระดับช่างเทคนิคพร้อมขับเคลื่อนขอนแก่นสู่ศูนย์กลางการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารภาคอีสาน

ศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ (TVET Hub) ที่ขับเคลื่อนโดยโครงการเชฟรอน สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้ทั้งบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและนักศึกษาในสายอาชีวะได้รับประสบการณ์การเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม มุ่งเน้นในการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประชากรและส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต

ศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมอาหารแห่งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและโครงการเชฟรอน สนุกวิทย์ฯ เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่บุคลากรในพื้นที่ ในการพัฒนาทักษะอาชีพ และยกระดับการศึกษาในรูปแบบของสะเต็มที่นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน พร้อมพัฒนาทักษะการสอนของบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จังหวัดขอนแก่นถือเป็นหนึ่งพื้นที่ยุทธศาสตร์ของภาคอีสาน ด้วยทำเลที่ตั้งและความพร้อมทั้งทางด้านการศึกษา การค้า การลงทุน และการขนส่ง ส่งผลให้ขอนแก่นเป็นศูนย์กลางในการสร้างความเชื่อมโยงจากพื้นที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศสู่ประตูแดนอีสาน อีกทั้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังมีความพร้อมในการรองรับและส่งเสริมการศึกษาของคนในพื้นที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ การเปิด TVET Hub ที่ ม. ขอนแก่นในครั้งนี้ นอกจากเป็นการเพิ่มพูนทักษะอาชีพให้แก่นักเรียนนักศึกษาแล้ว ยังเป็นการยกระดับการพัฒนาบุคลากรสายอาชีวะ โดยมี 15 สถาบันอาชีวศึกษาร่วมเป็นเครือข่าย ที่จะได้ร่วมใช้ประโยชน์จากศูนย์ฯ แห่งนี้ ทั้งในด้านของหลักสูตร การฝึกอบรมและการเข้าถึงอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ต่างสร้างองค์ความรู้และพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความร่วมมือระหว่างโครงการเชฟรอน สนุกวิทย์ฯ และ ม. ขอนแก่น เป็นการตอกยำ้ความมุ่งมั่นของ        โครงการฯ ในการส่งเสริมสะเต็มศึกษาให้แก่เยาวชนและสถานศึกษาในประเทศไทยผ่านการผสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนให้เกิดความตระหนักในการมีองค์ความรู้ทางด้านสะเต็มซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่  21 และเพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้แก่ประชากรในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นจิ๊กซอร์ชิ้นส่วนที่สำคัญที่ทำให้โมเดลยกระดับการศึกษาสะเต็มของโครงการฯ ที่ร่วมกับ ม. ขอนแก่น สมบูรณ์ครบวงจรที่ครอบคลุมการพัฒนาสะเต็มศึกษาทั้งในสายสามัญและอาชีวศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 1. การจัดตั้ง STEM Hub เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในสายสามัญ 2. การจัดตั้ง TVET Hub เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านสะเต็มให้กับนักเรียนในสถาบันอาชีวศึกษา และ 3. การสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ สะเต็มศึกษานอกห้องเรียน ด้วยโครงการมหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทยเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มให้เยาวชน

TVET Hub แห่งนี้จะทำหน้าที่เป็นเครือข่ายในการเชื่อมโยงและวางรากฐานการผลิตช่างเทคนิค เพื่อป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งความพร้อมของจังหวัดขอนแก่นทั้งทางด้านการเกษตรและเทคนิคการแปรรูปอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารในระดับชั้นนำ เป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของโครงการเชฟรอน สนุกวิทย์ฯ ในการส่งเสริมการยกระดับและพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทยด้วยรูปแบบและวิธีการที่แตกต่าง โดยมุ่งเน้นทางด้านสะเต็มศึกษาอย่างแท้จริง

ศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นศูนย์ลำดับที่ 5 ของโครงการเชฟรอน สนุกวิทย์ฯ จากเป้าหมายทั้งหมด 6 แห่ง ที่ได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ และได้รับการบริหารจัดการโดยสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ซึ่งโครงการจะยังคงสานต่อเจตนารมย์ในการพัฒนาการศึกษาให้แก่เยาวชนไทยด้วยสะเต็มศึกษา พร้อมทั้งพัฒนาทักษะของบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน มีจำนวนนักเรียนทั้งสายสามัญและอาชีวะศึกษากว่า 700,000 คน และ ครูรวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษากว่า 5,000 คนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการฯนี้

No Comments

Post a Comment