Alienum phaedrum torquatos nec eu, vis detraxit periculis ex, nihil expetendis in mei. Mei an pericula euripidis, hinc partem.
TVET หรือ Technical Vocational Education and Training

การฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาด้านทักษะอาชีพตั้งแต่ระดับอาชีวศึกษาไปจนถึงการเพิ่มศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่างๆ โดยมีระบบและรูปแบบที่ชัดเจน เพื่อสร้างเสริมความสามารถ (Competency) ในการนำไปประกอบวิชาชีพด้านช่างเทคนิคได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนบนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้งในยุคอุตสาหกรรม 4.0

สิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมมองหาในตัวบุคลากรที่จะมาปฏิบัติงานคือแรงงานที่พร้อมด้วยความรู้และทักษะที่ยืดหยุ่น พร้อมปรับให้เข้ากับเทคโนโลยีขั้นสูงได้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด โดยการพัฒนา TVET ต้องมีกระบวนการจัดทำมาตราฐานอาชีพ ได้แก่ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความรู้ในการทำงาน (Knowledge) การสร้างเสริมทักษะ (Skills) และคุณลักษณะที่จำเป็น (Attribute) โดยต้องมีมาตราฐานในการปฏิบัติงาน ขั้นตอนและขอบเขตการปฏิบัติงาน อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน หลักฐานการปฏิบัติงานและความเชี่ยวชาญในทักษะทางเทคนิค ความรู้ ความสามารถที่จำเป็น และผลลัพธ์การปฏิบัติงาน (outcomes) เป็นต้น

TVET ภายใต้โครงการ Chevron Enjoy Science

โครงการฯ มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรในสายอาชีพให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม โดยการพัฒนาระบบการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและการอบรมช่างเทคนิคผ่านการจัดตั้ง “ศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ หรือ TVET Hub” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) และภาคเอกชน เพื่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือภายในศูนย์ฯอย่างเข้มข้น และส่งเสริมกิจกรรมต่างๆทั้งทางด้านพัฒนาบุคลากร และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ ภายในศูนย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยศูนย์จะเป็นแบบอย่างให้แก่ภาคส่วนอื่นๆ ให้สามารถเรียนรู้เพื่อการขยายผลอย่างยั่งยืนและกว้างขวางยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ TVET Hub ยังเป็นศูนย์กลางในการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและการอบรมช่างเทคนิค และเสริมสร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นใน 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ พลังงาน ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ทั้งนี้ โครงการฯ ตั้งเป้าในการจัดตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพจำนวนทั้งสิ้น 6 ศูนย์ทั่วประเทศ โดยเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของที่ตั้ง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรมที่เหมาะสมกับศูนย์หรือเครือข่ายภายในศูนย์เอง

การปฏิบัติงานของศูนย์ฯ จะมีผู้ประสานงานหลักเป็นแกนกลางขับเคลื่อนกิจกรรมหลัก ได้แก่ STEM for TVET และ Technical TVET Competency โดยมีการประสานงานระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษาภายใต้ศูนย์ฯ และการมุ่งเน้นพัฒนาสะเต็มศึกษา (STEM) ให้กับนักเรียนนักศึกษาและแรงงานทักษะฝีมือ

หน้าที่ของ TVET Hub
  • สร้างแพลตฟอร์มการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเพื่อเชื่อมโยงสถาบันอาชีวศึกษา นักเรียน-นักศึกษา และภาคธุรกิจด้วยกัน
  • เป็นศูนย์กลางในการตอบสนองต่อความต้องการทางด้านบุคลากรและหลักสูตร ที่ตอบโจทย์ของภาคอุตสาหกรรมในท้องถิ่น
  • ปรับปรุงหลักสูตร STEM และ TVET ให้ทันสมัยและเข้ากับบริบทของประเทศ
  • เป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษาและการประกันคุณภาพ
  • จัดการและดูแลสื่อการเรียนการสอน พร้อมแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
  • พัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรมเพื่อสร้างศักยภาพของครูผู้สอนและบุคลากรในด้านอาชีวศึกษา
  • พัฒนาโปรแกรมฝึกงานสำหรับนักศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
มีประโยชน์ต่อวิทยาลัยเทคนิคอย่างน้อย
60
แห่งทั่วประเทศ
ฝึกทักษะครูมากกว่า
1,800
คน
พัฒนาทักษะของนักเรียนกว่า
108,000
คน
พัฒนาทักษะบุคลากรกว่า
30,000
คน