Alienum phaedrum torquatos nec eu, vis detraxit periculis ex, nihil expetendis in mei. Mei an pericula euripidis, hinc partem.
 

โครงการ Chevron Enjoy Science

โครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต

โครงการ “Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต” เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของพันธมิตรภาครัฐและเอกชน 9 องค์กร ด้วยความมุ่งหวังที่ต้องการส่งเสริมการยกระดับและพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทยด้วยรูปแบบและวิธีการที่แตกต่าง เพื่อเสริมสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศ  โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยโครงการฯ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านสะเต็มศึกษา (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) และการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มวิชาชีพที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการพัฒนาบุคลากรครู และผู้บริหารสถานศึกษา ในด้านเทคนิควิชาการด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตัวเอง เพื่อนำมาสู่การยกระดับคุณภาพนักเรียนนักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ พลังงาน และเกษตรกรรมพร้อมทั้งดำเนินนโยบายจัดตั้ง “ศูนย์สะเต็มศึกษา” และ “ศูนย์อาชีวศึกษา” ทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีการศึกษาในระดับจังหวัด รวมถึงเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนโครงการในแต่ละภูมิภาคให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนสำหรับการดำเนินงานโครงการ Chevron Enjoy Science จะใช้งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท ในระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี  โดยมีเป้าหมายจะช่วยสร้างศักยภาพทางการศึกษาและทักษะด้านอาชีพให้นักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษาจนถึงเจ้าหน้าที่รัฐและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศกว่า 5 แสนคน เพื่อสร้างโอกาสทางอาชีพและรายได้ที่สูงขึ้น

การดำเนินโครงการเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่1

การพัฒนาศักยภาพของครู
และนักเรียนในสาขา STEM

ส่วนที่2

การส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร
ในสายอาชีพ

ส่วนที่3

การสร้างการรับรู้ ความร่วมมือในการพัฒนา
การเรียนรู้ ด้าน STEM และด้านอาชีวศึกษา

สะเต็มศึกษาคืออะไร

STEM ย่อมาจากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์

เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้บูรณาการ
การเรียนรู้ และสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับ
ศตวรรษที่ 21

STEM ไม่เพียงมุ่งเน้นในเรื่องของการให้ความรู้แก่นักเรียนเท่านั้น แต่ยังเป็นการผสานความรู้และทักษะที่สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

ความสำคัญของสะเต็มที่มีต่อประเทศไทย

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งสะเต็มศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ

ความต้องการแรงงานทักษะ
ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ส่ร้างความสนใจและส่งเสริมการเติบโตของสาขา
วิชาสะเต็มศึกษาในประเทศ

การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ให้ความรู้แก่นักเรียนผ่านการท้าทายด้วยปัญหา
คำถามหรือสถานการณ์แทนการนำเสนอ
ข้อเท็จจริง

พัฒนาทักษะการวิจัย การคิดเชิงวิพากษ์
และการแก้ปัญหาแทนการท่องจำ

ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ
ของผู้เรียนอย่างยั่งยืน

การพัฒนาทักษะด้านอาชีพ

การศึกษาและการฝึกอบรมที่ให้ทั้งความรู้และทักษะทางเทคนิคที่จำเป็นสำหรับแรงงานฝีมือ
ผ่านการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง

มุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถใช้ความรู้และทักษะ
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบ

เตรียมความพร้อมให้บุคลากรด้วยการฝึกงานจริงและการให้คำปรึกษาเพื่อเปิดโอกาสสู่อาชีพการงาน
ที่ดีในอนาคต

ความสำคัญของการพัฒนาทักษะอาชีพที่มีต่อประเทศไทย

เป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนในการก้าวสู่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อยกระดับทักษะแรงงานของ
ประเทศไทยในปัจจุบัน

วางรากฐานให้แก่แรงงานที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม พร้อมขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ

เป้าหมายความสำเร็จ

เป็นประโยชน์ต่อ
นักเรียน คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และเจ้าหน้าที่ภาครัฐด้านการศึกษาว่า 500,000 รายทั่วประเทศ

มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการฯ
660โรงเรียน
มีนักเรียนร่วมโครงการฯ
425,000 คน
มีอาจารย์นำหลักสูตรใช้สอนจริง
10,000 คน
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
ครูอาจารย์และผู้บริหารได้รับการอบรม
10,704 คน
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสะเต็มศึกษาผ่านกิจกรรมต่างๆ
1,485,033  คน
ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ
150 องค์กร
สุพัฒ สังวรวงษ์พนา
ผู้ร่วมพัฒนาผลงาน ปะการังเทียบ
ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด Enjoy Science :
Let’s Print The World ปี 2558
“แต่ก่อน ผมถ่ายทอดจินตนาการออกมาเป็นรูปวาด
แต่วันนี้ผมสามารถสร้างสรรค์ผลงาน
ออกมาเป็นสามมิติ เพื่อนำไปช่วยเหลือสังคมได้”
วิสูตร อาสนวิจิตร
อาจารย์ประจำวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่
“จุดแรกของการพัฒนาอาชีวศึกษาคือการพัฒนาครู
ให้เข้าใจเรื่องของ STEM ให้สามารถช่วยเด็กให้เข้าใจ
มองเห็นภาพ คิดเป็น และรู้ว่า เรียนจบไปทำอะไรได้”
วรรณา เฟื่องฟู
ครูพี่เลี้ยง (mentor). โครงการ
Chevron Enjoy Science
“การได้มาเป็นครูพี่เลี้ยง ทำให้เราได้ช่วย
พัฒนาครู ช่วยให้การเรียนการสอนสนุกขึ้น
เห็นนักเรียนสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์
รักวิทยาศาสตร์ เราก็มีความสุข”