Alienum phaedrum torquatos nec eu, vis detraxit periculis ex, nihil expetendis in mei. Mei an pericula euripidis, hinc partem.
เชฟรอน ประเทศไทย
มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย และ MSI

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย พัฒนาโครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ขึ้นเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันและพัฒนานวัตกรรมของประเทศด้วยการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ โครงการฯ ได้จัดให้มีการศึกษาผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินโครงการฯ โดยประสานความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างองค์กร Management Systems International (MSI) ประเทศสหรัฐอเมริกา และ เครือข่ายนักวิจัยทางการศึกษาไทยจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายของโครงการฯจำนวนทั้งสิ้น 16 แห่ง

มหาวิทยาลัยเครือข่ายที่เข้าร่วมในการติดตามและประเมินผลโครงการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ล้านนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยทักษิณ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ศรีวิชัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

MSI เป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการติดตามและประเมินผลโครงการทางการศึกษาในหลากหลายประเทศ โดยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับนักวิจัยไทยกว่า 50 คนจากมหาวิทยาลัยในเครือข่าย  (National Research Team หรือ NRT) เพื่อพัฒนารูปแบบและกรอบการประเมินผลโครงการฯ ตลอดจนพัฒนาเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลให้มีความสอดคล้องกับระบบการศึกษาของประเทศไทย นอกจากนี้โครงการฯ ยังสร้างความร่วมมือกับ สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (NIETS) ในการสนับสนุนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) เพื่อให้การประเมินผลครั้งนี้มีความสมบูรณ์

การติดตามและประเมินผลโครงการฯ มีระยะเวลาตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2559 – 2562 โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะเริ่มต้น (Baseline) ระยะกลาง (Midterm) และระยะสิ้นสุด (Final)

ผลการประเมินระยะเริ่มต้น

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร Executive Summary – ระยะเริ่มต้น(TH)

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร Executive Summary

ผลการประเมินโครงการ-ระยะเริ่มต้น

ผลการประเมินโครงการระยะเริ่มต้น

ผลการประเมินระยะกลาง

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร Executive Summary ระยะกลาง

บทสรุปผู้บริหารระยะกลาง

ผลการประเมินโครงการ-ระยะกลาง

ผลการประเมินโครงการ ระยะกลาง

ผลการประเมินระยะสิ้นสุด

ผลการประเมินโครงการ-ระยะสิ้นสุดโครงการ

ผลการประเมินระยะสิ้นสุดโครงการ

ประโยชน์จากการประเมินผลของโครงการฯนี้ นอกจากเป็นการศึกษาผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการแล้ว ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยไทยในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิจัยทางการศึกษา ตลอดจนขยายความเข้มแข็งของเครือข่ายการวิจัยระหว่างสถาบันการศึกษาอีกด้วย

กลวิธีทางการประเมินผลโครงการฯ ได้ใช้รูปแบบ ‘Difference in Differences’ ซึ่งเป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลจากทั้งโรงเรียนและวิทยาลัยอาชีวศึกษาจำนวนทั้งสิ้นกว่า 400 แห่งใน 54 จังหวัดทั่วประเทศ โดยมีกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลดังต่อไปนี้

01. STEM
  • Teacher Survey
  • Classroom Observation
  • Teacher Interview
  • Student Survey
02. STEM for TVET
  • Teacher Survey
  • Classroom Observation
  • Teacher Interview
  • Student Survey
  • Student Focus Group Discussion
  • Director Survey
03. Technical TVET
  • Teacher Survey
  • Teacher Interview
  • Student Survey
  • Student Focus Group
  • Director Survey
  • Industry Interview