Alienum phaedrum torquatos nec eu, vis detraxit periculis ex, nihil expetendis in mei. Mei an pericula euripidis, hinc partem.
 

จดหมายข่าวโครงการ Chevron Enjoy Science ฉบับที่ 32

จดหมายข่าวโครงการ Chevron Enjoy Science ฉบับที่ 32

“ถ้าเรากล้าทำสิ่งที่ท้าทายตัวเอง เราก็จะ
สามารถกระตุ้นให้นักเรียนทำสิ่งที่ท้าทายได้”

ครูรุ่นใหม่ทั้งสามกล่าวถึงความพยายามของตนในการยกระดับการเรียน

การสอนและสร้างความเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียนสะเต็มศึกษา

 

ครูคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน  ผลการศึกษาพบว่าครูที่ดีมีผลต่อการเรียนของนักเรียนมากกว่า 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ สถานที่ บริการที่อำนวยความสะดวกในการเรียน หรือชื่อเสียงของโรงเรียน

สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าจำนวนหนังสือหรือโต๊ะเรียนในชั้นเรียน คือ คุณครู ผู้ซึ่งมีพลังในการสร้างแรงบันดาลใจและปลูกฝังนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนให้แก่นักเรียนในระยะยาว

“ผมชอบสอน ชอบเวลาที่ได้เห็นนักเรียนแสดงท่าทาง ‘อ๋อ’ เวลาเข้าใจอะไรบางอย่าง เด็กนักเรียนมักเต็มไปด้วยความสงสัยและมีความกระหายที่จะเรียนรู้” นายคงสิทธิ์ คุณครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนสายทองอุปถัมภ์ จังหวัดฉะเชิงเทรากล่าว

อย่างไรก็ตาม การต้องเผชิญกับนักเรียนจำนวนมากในชั้นเรียนทุกๆวันเพื่อบ่มเพาะขัดเกลาให้พวกเขาเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ดังคำกล่าวของนักเขียนวิลเลียม อาเธอร์ วาร์ด ที่ว่า “ครูทั่วไปจะเล่าเรื่อง ครูที่ดีจะอธิบาย ครูที่เก่งกว่านั้นจะแสดงให้เห็น ในขณะที่ครูที่ยอดเยี่ยมที่สุดจะสร้างแรงบันดาลใจ”

‘ครูที่ยอดเยี่ยม’ นั้นยิ่งใหญ่และหาได้ยาก เนื่องจากต้องอาศัยเวลาอย่างมากในการพัฒนาตนอย่างแข็งขัน เพื่อค้นหารูปแบบการสอนที่สามารถสร้างและขัดเกลาทักษะการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และความชื่นชอบของนักเรียนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้หลักวิธีสอนแบบท่องจำมายาวนาน

“ตอนที่ผมเป็นเด็กนักเรียน คุณครูมีหน้าที่เข้ามาสอน ส่วนนักเรียนก็ทำหน้าที่เป็นผู้ฟัง เราแค่ต้องท่องจำและส่งการบ้านเท่านั้น” นายรัตนศักดิ์ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดแหลมฟ้าผ่า จังหวัดสมุทรปราการมาเป็นระยะเวลา 7 ปีเผย “ตอนที่ผมเห็นผลคะแนน O-NET และ PISA ของนักเรียนในประเทศไทย ผมรู้สึกว่าระบบการศึกษาของเราล้มเหลว”

“ผมตระหนักว่าผมจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการสอนเพื่อผลักดันให้นักเรียนรู้จักขวนขวายหาแนวทางการเรียนในแบบของตัวเอง ผมอยากมีส่วนร่วมในการพลิกโฉมระบบการศึกษาของไทย” นายรัตนศักดิ์กล่าวอย่างมุ่งมั่น

โครงการ Chevron Enjoy Science มองว่าการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะนำนักเรียนไปสู่การประสบความสำเร็จจึงดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จนก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกว่า 120  ชุมชน โดยปัจจุบันสามารถพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนได้กว่า 2,000 คน ในโรงเรียน  650 แห่งทั่วประเทศ ภายใต้รูปแบบเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนรู้จักตั้งคำถาม

ในชั้นเรียนแบบเปิดของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คณะครูและผู้เชี่ยวชาญจะออกแบบแผนการสอนโดยเน้นไปที่การเรียนรู้แบบสืบเสาะและถูกนำไปใช้จริงในห้องเรียนโดยครูต้นแบบ ครูผู้สังเกตการณ์ 1 คนจะนั่งประจำในทุกกลุ่มของนักเรียนเพื่อทำหน้าที่จดบันทึกสิ่งที่ถูกถ่ายทอดให้แก่นักเรียน หลังจากจบชั้นเรียนแล้วครูและผู้เชี่ยวชาญจะทำการวิเคราะห์บทเรียนร่วมกันเพื่อสะท้อนถึงวิธีการสอนที่ไม่สัมฤทธิ์ผลรวมถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนการสอน การพลาดโอกาสในการมีส่วนร่วมของนักเรียน และร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลวิธีที่จะปรับแต่งการวางแผนการสอนตลอดจนการนำไปใช้จริงในห้องเรียน

ครูคงสิทธิ์:  ตอนนี้ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและเห็นว่ามีอะไรมากกว่าที่ผมคาดคิดมาก การดำเนินงานทุกอย่างเป็นขั้นตอน และทำให้เห็นมุมมองการทำงานของคุณครูหลายๆ ท่าน ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจวิธีคิดของนักเรียน และรู้จักวิเคราะห์ปัญหาจากมุมมองของเด็ก หากเรายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและพร้อมที่จะรับฟังผลตอบรับ เราก็สามารถหาวิธีสอนที่เหมาะกับนักเรียนของเราได้ เทคนิคใหม่ๆที่ผมนำมาประยุกต์ใช้ในห้องเรียนทำให้เกิดช่วง ‘อ๋อ’ ระหว่างผมกับนักเรียนมากขึ้น

ครูรัตนศักดิ์:  ตอนที่ผมมีโอกาสสอนในชั้นเรียนแบบเปิด ผมพยายามอย่างเต็มที่เพื่อส่งต่อองค์ความรู้ที่ทีมผู้เชี่ยวชาญร่วมกันสร้างขึ้น  ผมเห็นบทบาทที่สำคัญของตนเองในการนำองค์ความรู้ความคิดที่จับต้องไม่ได้มาแปลงเป็นการเรียนการสอนในห้องเรียนจริง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีความสำคัญมาก เรามักได้เกร็ดความรู้และเทคนิคที่สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนได้เสมอ เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้แลกเปลี่ยนมุมมองทางอาชีพกับคุณครูท่านอื่นๆ  เมื่อก่อนคุณครูแต่ละคนจะวางแผนการสอนเอง แต่ปัจจุบัน เราทำงานเป็นทีม ทำให้รู้สึกว่าไม่ต้องทำงานอย่างโดดเดี่ยว

คุณครูที่เป็นผู้ขัดเกลานักเรียนนักศึกษาไทยรุ่นใหม่ พวกเขาต้องการการสนับสนุนด้านใดบ้างในการเข้าถึงนักเรียนอย่างมีประสิทธิผล ลองมาอ่านบทสัมภาษณ์และทำความรู้จักคุณครูรุ่นใหม่ทั้ง3ท่าน จาก 3 จังหวัดในประเทศไทย ที่จะมาบอกเล่าถึงความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญในการสอนและการมุ่งสู่การเป็นครูที่ยอดเยี่ยม

Newsletter Issue 32 TH

Date

January 29, 2019

Category

Newsletter