เผยผลการศึกษาบริบทของไทยโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน TVET จากสถาบันชิซอล์ม ออสเตรเลีย สู่การจัดตั้งรูปแบบ TVET Hub ในประเทศไทย
นายร็อบ สโตเวลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน TVET จาก Chisholm Institute, Australia บรรยายเกี่ยวกับรูปแบบการจัดตั้งTVET Hub ในประเทศไทย
Bangkok Mini Maker Faire
งาน Bangkok Mini Maker Faire มหกรรมแสดงผลงานและสิ่งประดิษฐ์ของ“เมกเกอร์” จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26-27 กันยายน 2558 ที่สยามสแควร์ โดยความร่วมมือของ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อให้นักประดิษฐ์ชาวไทยได้ร่วมจัดแสดงผลงานประดิษฐ์ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางด้านไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ การเขียนโปรแกรม งานฝีมือ ดนตรี อาหาร ศิลปะ และอื่นๆ ทั้งนี้ทางโครงการ Chevron Enjoy Science ได้มีโอกาสออกบูธ“ห้องเรียนวิทยาศาสตร์” ที่ใช้หลักการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยนักเรียนและครูวิทยาศาตร์ที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็นผู้สาธิตการใช้สื่อการเรียนการสอนให้กับผู้เข้าร่วมงานที่สนใจ โดยงานในครั้งนี้ถือเป็น MakerFaire ครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย และได้มีการจัดแสดงผลงานการออกแบบจากเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ ของผู้ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจากโครงการ Enjoy Science: Let’s Print the World และมีการประกาศผลผู้ที่ได้รับรางวัลอีกด้วยข่าวสารโครงการ Chevron Enjoy Science
Enjoy Science นำเสนอ 3 โมเดล TVET Hub หวังปฏิรูปอาชีวะไทย
สำหรับการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ หรือ TVET นั้น ห้องเรียนไม่ใช่แหล่งเรียนรู้เพียงอย่างเดียวของนักศึกษา แต่การเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานจริง หรือ work-based learning คือวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพที่นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะจากการทำงาน โดยจากรายงาน Revisiting Global Trends in TVET: Reflections on Theory and Practice ที่ตีพิมพ์โดยศูนย์เทคนิคและอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมนานาชาติของยูเนสโก(UNESCO-UNEVOC International Centre for Technical and Vocational Education and Training) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนรู้จากการทำงานไว้อย่างน่าสนใจ
นายริชาร์ด สวีท Professorial Fellow จาก Graduate School of Education, University of Melbourne ได้กล่าวถึงประโยชน์จากการเรียนรู้จากการทำงานจริงในหลากหลายวัฒนธรรม โดยการเรียนรู้จากการทำงานจริงสามารถยกระดับความสามารถทางการผลิตและนวัตกรรมของนักศึกษาได้อย่างดีเยี่ยม ระบบอาชีวศึกษาของประเทศเยอรมันได้ใช้ระบบการเรียนรู้ภายในขององค์กร และเมื่อเปรียบเทียบทักษะแรงงานของประเทศเยอรมันและอังกฤษ บริษัทเยอรมันมีความสามารถทางการผลิตที่สูงกว่าอย่างชัดเจน
“งานศึกษาชิ้นนี้นอกจากจะกล่าวถึงความเชื่อมโยงในเรื่องของการพัฒนาทักษะด้วยการฝึกงานภายในบริษัท (ประเทศเยอรมัน)แล้ว ยังกล่าวถึงความสำคัญของคุณภาพทักษะแรงงานที่มีผลต่อความสามารถทางการผลิตขององค์กรเมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรที่มีทักษะต่ำ” นายสวีทกล่าว
การเรียนรู้จากการทำงานจริงคือสิ่งที่สำคัญที่จะดึงดูดให้เยาวชนสนใจอาชีวศึกษาและนักศึกษาที่ขาดแรงบันดาลในการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงจะช่วยให้ผู้เรียนได้ทำงานโดยตรงร่วมกับชุมชนและองค์กรภายใต้การดูแลของครูพี่เลี้ยง (mentor) ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก นักศึกษาได้มีโอกาสประยุกต์วิชาที่เรียนสู่การทำงานจริง โดยประสบการณ์เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในด้านทักษะการแก้ปัญหาและความรู้ในบริบทต่างๆรวมถึงการสร้างเครือข่ายและโอกาสพัฒนาอาชีพให้มีความหลากหลาย
นอกจากนี้ การเรียนรู้จากการทำงานจริงจะช่วยให้เยาวชนมีช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ผู้ใหญ่ได้อย่างราบรื่น โดยนายสวีท กล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้จากการทำงานจริงของนักเรียนสู่การจ้างงานหลังจบการศึกษา นักศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ และออสเตรเลีย ที่การศึกษาได้ใช้ระบบการเรียนรู้จากการทำงานจริง มีโอกาสได้งานทำหลังจากจบการศึกษามากกว่านักศึกษาจากประเทศอย่างฝรั่งเศสและอิตาลีที่มีระบบการศึกษาแบบแยกส่วน
การเรียนรู้จากการทำงานจริงแบบบูรณาการคือวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่จะสามารถพัฒนาหลักสูตร TVET และเพิ่มศักยภาพของแรงงาน ซึ่งไม่ใช่แค่ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์ แต่นักศึกษายังได้เรียนรู้ทักษะสร้างเครือข่ายและเพิ่มโอกาสทางอาชีพ และด้วยความต้องการแรงงานที่มีทักษะในโลกปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลสถาบันอาชีวศึกษาจะพัฒนาการเรียนรู้จากการทำงานจริงแบบบูรณาการ