คุณสุภรา กมลพัฒนะ
ผู้จัดการ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ จามจุรีสแควร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร Maker Space จาก New York Hall of Science (ขวาสุด)
- “ความรู้มากมายจากการอบรมนี้ ทำให้เกิดการพัฒนาโปรแกรมสำหรับ Maker Space และรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เรียนรู้แนวคิดในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กที่สอดแทรกอยู่ในแต่ละกิจกรรมที่ทาง NYSCI นำมาอบรม เช่น กิจกรรมการออกแบบสามมิติ ที่ไม่เพียงแต่สอนการใช้ซอฟแวร์ออนไลน์ในการออกแบบเท่านั้น แต่กิจกรรมนี้ ยังสามารถสอนเด็กให้มีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ในการคำณวนขนาด และการวัดขนาดวัตถุ รวมถึงการสร้างสรรค์เชิงศิลปะ นอกจากนี้ กิจกรรมแต่ละกิจกรรม ยังสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้แก่เด็กอีกด้วย” “ดิฉันคิดว่า Maker Space ก่อให้เกิดประโยชน์มากมายให้แก่เด็กไทย ทั้งสามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญเด็กจะได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์หรือเราเรียกกันสั้นๆ ว่า STEM แบบไม่รู้ตัว ถ้าประเทศไทยเราสามารถจัดให้มี Maker Space ได้ในทุกจังหวัด หรือในจุดศูนย์กลางของเมืองยิ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง นอกจากนี้ เราควรที่จะนำกิจกรรม Maker Space แทรกเข้าไปในกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน ซึ่งอันดับแรกนั้น คุณครูควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาการเรียนการสอนด้วย Maker Space พร้อมทั้งจัด workshop ให้กับคุณครูเพื่อเสริมความรู้ในการออกแบบและพัฒนากิจกรรม Maker สำหรับนักเรียน”