Alienum phaedrum torquatos nec eu, vis detraxit periculis ex, nihil expetendis in mei. Mei an pericula euripidis, hinc partem.
 

จดหมายข่าวโครงการ Chevron Enjoy Science ฉบับที่ 36

จดหมายข่าวโครงการ Chevron Enjoy Science ฉบับที่ 36

“นักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้”

การต่อสู้เพื่อการศึกษาพิเศษในจังหวัดฉะเชิงเทรา

เด็กชายอายุ 14 ปีที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นเแชมป์สนุกเกอร์ของจังหวัดฉะเชิงเทรา

“ผมเล่นสนุกเกอร์แข่งกับโจ แต่แข่งยังไงก็ไม่ชนะเขาสักที”

ธงชัย สุขพงษ์ไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดล่างเล่าถึงนักเรียน ชั้นม.3 ของเขา

แม้ว่าโจจะเป็นมือหนึ่งของโต๊ะบิลเลียด แต่ความเก่งกาจของเขาไม่ได้รวมไปถึงทักษะทางด้านภาษาและคณิตศาสตร์ เขามีปัญหากับการถอดสูตรคณิตศาสตร์ต่างๆ รวมไปถึงการใช้ภาษาแต่สามารถเข้าใจหลักการทางคณิตศาสตร์ได้โดยการอธิบายผ่านสื่อการสอนที่จับต้องได้

โจกำลังเรียนอยู่ชั้นม.3 แต่การเรียนรู้ของเขาช้ากว่าเพื่อนๆที่เรียนในชั้นเดียวกันอยู่หลายปี

จณิชญา ศิริปุณย์ คุณครูวิชาวิทยาศาสตร์ที่โจและเพื่อนๆเรียกกันว่า ครูยุ้ย กล่าวถึงความเข้าใจของคุณครูที่ยึดแนวทางการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมว่า “ในเมื่อฉันถูกสอนมาแบบนี้ ฉันก็จะสอนในแบบนี้” อย่างไรก็ตามครูยุ้ยรู้ดีว่า“เนื้อหาการเรียนการสอนนั้นไม่สามารถถ่ายทอดสู่นักเรียนทุกคนได้”

ในประเทศไทยที่ระบบการศึกษาค่อนข้างมีข้อจำกัด อะไรจะเกิดขึ้นกับเด็กๆที่ไม่สามารถเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาแบบดั้งเดิมได้

นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD:Learning Disabilities) ในประเทศไทย มักถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ถูกสังคมตีตรา และไม่ได้มีโอกาสเรียนกับครูหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษ ส่งผลให้นักเรียนเหล่านี้ไม่ได้รับความสนใจในห้องเรียน นักเรียนบางคนเลือกที่จะไม่ไปโรงเรียน มากกว่าจะนั่งเงียบๆในห้องเรียนและไม่เข้าใจบทเรียนใด ๆ เลย ในแต่ละวัน

และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับนักเรียนโรงเรียนวัดล่าง

ครูยุ้ยเล่าให้ฟังถึงคำถามของนักเรียนบางรายที่ “ประหลาด”จนทำให้ครูคิดว่า เขามีปัญหา “น้อยคนมากที่เชื่อว่าเด็ก ๆเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้จริง ๆ ”

“มันเจ็บปวดมากที่เห็นนักเรียนตัดสินใจออกจากโรงเรียน” ครูยุ้ยเล่าพร้อมถอนใจ

โรงเรียนในไทยมีเด็กนักเรียนที่ถูกระบุว่า “บกพร่องทางการเรียนรู้” (LD) มากกว่า 300,000 ราย แต่จากการทดสอบครั้งล่าสุดของนักเรียน 400 คนทั่วประเทศ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาพบว่า มีนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้จริงๆเพียงร้อยละ 37 เท่านั้น

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ค่ะ

ES_Newsletter_2019_July TH

Date

August 5, 2019

Category

Newsletter