ตลอดระยะเวลากว่าสองสัปดาห์ของงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีผู้สนใจเข้าชมงานกว่า 1 ล้านคน แต่สำหรับผู้จัดงาน คุณบิ๋ง จิระพัชรินทร์ อรรถจินดา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ บอกกับเราว่า 1 ล้านคนนั้น ยังไม่เพียงพอ
“เนื่องจากจุดประสงค์หลักในการจัดงานคือต้องการให้เด็กๆได้สนุกกับวิทยาศาสตร์ และเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างไร ไม่ใช่แค่ได้ความรู้ แต่ต้องอยู่กับมันอย่างสนุกสนานด้วย เราอยากทำให้น้องๆนักเรียนสนุกสนานและเข้าถึงวิทยาศาสตร์ได้ง่ายขึ้น”
งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดขึ้นโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ภายใต้การดำเนินงานขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.)มุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ด้านสะเต็มศึกษาและวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ทักษะด้านสะเต็มเป็นส่วนสำคัญที่ภาครัฐพยายามผลักดันเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และมุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จากผลงานวิจัยแสดงว่าสะเต็มศึกษาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของแรงงานอย่างยั่งยืน
ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่าประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ในสาขาสะเต็มศึกษา การเรียนรู้นอกห้องเรียนสร้างพื้นฐานความสนใจในด้านสะเต็ม และเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างความเท่าเทียมและการเข้าถึงความรู้ด้านสะเต็มโดยไม่แบ่งแยกพื้นฐานความรู้
เพื่อตอบรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 อพวช.ภายใต้การสนับสนุนจากอว.และโครงการ Chevron Enjoy Science ร่วมกันพัฒนากิจกรรมที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 เช่นความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะอื่นๆ กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างความสนใจในด้านสะเต็มให้กับนักเรียนต่อยอดไปจนถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต
อ่านฉบับเต็ม
ES_Newsletter_2019_Sept_TH