Alienum phaedrum torquatos nec eu, vis detraxit periculis ex, nihil expetendis in mei. Mei an pericula euripidis, hinc partem.
 

จดหมายข่าวโครงการ Chevron Enjoy Science ฉบับที่ 7

จดหมายข่าวโครงการ Chevron Enjoy Science ฉบับที่ 7

จากความคิดสู่การลงมือทำ ภายใต้ “วัฒนธรรมเมกเกอร์”

หากเปรียบ Makers เป็น จิตรกร Maker Space คงเปรียบได้กับสตูดิโอที่กว้างขวางพอสำหรับการวาดภาพและมีอุปกรณ์ เช่น พู่กัน สี และแผ่นผ้าใบที่เพียบพร้อม ที่จะเป็นเสมือนสถานที่ให้จิตรกรได้สร้างสรรค์ผลงานเด่นออกมาสู่สาธารณชน

ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในแถบยุโรปนั้น Maker Space มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยองค์กรภาครัฐและเอกชนต่างร่วมกันระดมทุนในการสนับสนุนให้เกิด Maker Space เหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวก็คือ Maker Space จะทำให้เหล่า Makers สามารถมีสถานที่ เครื่องมือ และเครื่องจักรต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ 3 มิติ เครื่องตัด เครื่องเจาะ และเครื่องกลึง ที่เพียบพร้อม ให้ Makers สามารถสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และชิ้นงานของตน จนอาจสามารถนำไปต่อยอดเป็นธุรกิจที่สร้างมูลค่าได้มากมาย

ด้วยเหตุนี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย ภายใต้โครงการ “Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิดเพื่ออนาคต” จึงร่วมมือกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การพัฒนาและออกแบบกิจกรรมสำหรับเมกเกอร์สเปซ (Maker Space Designing Workshop)” ให้แก่บุคลากรขององค์กรด้านการศึกษาระดับประเทศของไทย ทั้งจาก อพวช. จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงานอื่นๆ โดยได้เชิญ นายเดวิด เวลส์ ผู้อำนวยการการออกแบบหลักสูตรเมกเกอร์ นิวยอร์กฮอลล์ออฟไซนส์ (New York Hall of Science: NYSCI) ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและเป็นหัวหอกสำคัญในการจัดงาน World Maker Faire หรืองานแสดงผลงานของเหล่าเมกเกอร์ระดับโลกที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในการผลักดันวัฒนธรรมเมกเกอร์ให้ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนไทย

หลัก 4D ขั้นตอนการเรียนรู้ของเมกเกอร์ โดย NYSCI
1. Deconstruction: การรื้อถอน และวิเคราะห์ โดยทำความเข้าใจว่า วัสดุที่อยู่ตรงหน้ามีคุณสมบัติขั้นพื้นฐานอย่างไร
2. Discovery: การค้นคว้า เรียนรู้ และ เปรียบเทียบ ว่าวัสดุดังกล่าวหาได้จากที่ใด ใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นอย่างไรได้บ้าง
3. Design and Make:  ขั้นตอนการออกแบบและลงมือทำ นำความรู้ 2 ขั้นตอนแรกมาปรับใช้ ออกแบบสร้างเป็นชิ้นงาน
4. Display: ขั้นตอนการจัดแสดงผลงาน ซึ่งจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ การแบ่งปันองค์ความรู้จากการลองผิดลองถูก    ซึ่งช่วยให้เมกเกอร์สามารถปรับปรุงผลงานของตน และเมกเกอร์คนอื่นก็อาจนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดได้อีกด้วย

“การส่งเสริม Maker Space ในประเทศไทย จะช่วยให้เยาวชนมีพื้นที่ในการพัฒนากระบวนการคิด สร้างสรรและนำเสนอความรู้ด้านสะเต็มออกมาในรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งจะพัฒนาทั้งทักษะของเยาวชนและเป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมของประเทศต่อไปในอนาคต” น.ส.พรสุรีย์ กอนันทา ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด

“ภารกิจหนึ่งของสถาบันคีนัน คือการเป็นผู้นำองค์ความรู้ด้านการศึกษาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดที่เชื่อว่าความคิดสร้างสรรมิใช่พรสวรรค์แต่ฝึกฝนได้ สถาบันฯ จึงเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรจาก NYSCI เข้ากับองค์กรภาคส่วนต่างๆ” นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการสถาบันคีนันแห่งเอเชีย

“อพวช.จะมุ่งสร้างความสนใจในวัฒนธรรมเมกเกอร์ให้กับเยาวชนในวงกว้าง โดยเริ่มจากการนำรูปแบบกิจกรรมที่ได้รับจากการอบรมฯ ไปปรับใช้กับกิจกรรมของคาราวานวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนทั่วประเทศในปีนี้” นายสาคร ชนะไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

“ขั้นตอนการเรียนรู้แบบฉบับเมกเกอร์นี้จะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learners) เพราะผู้เรียนได้ลงมือทำ คิดหาคำตอบด้วยตนเอง และกล้าทำเพราะไม่ถูกตัดสินว่าอะไรผิดหรือถูก” นายเดวิด เวลส์ ผู้อำนวยการการออกแบบหลักสูตรเมกเกอร์ New York Hall of Science

Chevron_Enjoy_Science_Newsletter_Issue_7-Thai

Date

November 15, 2017

Category

Newsletter