Alienum phaedrum torquatos nec eu, vis detraxit periculis ex, nihil expetendis in mei. Mei an pericula euripidis, hinc partem.
 

จดหมายข่าวโครงการ Chevron Enjoy Science ฉบับที่ 17

จดหมายข่าวโครงการ Chevron Enjoy Science ฉบับที่ 17

รวมพลังเพาะพันธุ์ต้นกล้าวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมไปกับโครงการ เชฟรอน สนุกวิทย์ฯ และ  มหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย ด้วยโครงการมหาวิทยาลยเด็ก เปิดบ้านให้นักวิทยาศาสตร์น้อยได้สัมผัสประสบการณ์จริงแห่งการทดลอง

ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมระหว่างโครงการเชฟรอน สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต และ มหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย ที่จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และมหาวิทยาลัยเครือข่าย18 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ที่เปิดโอกาสให้ทั้งมหาวิทยาลัยในเครือข่ายได้สร้างสรรค์กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างความสนุกสนาน พร้อมได้รู้จักการนำวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน สามารถนำไปประยุกต์และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์ในมิติต่างๆ ทางสังคม ผ่านกิจกรรมการทดลองโดยมีนักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญเป็นพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

โดยในเดือนตุลาคมปีนี้ โครงการมหวิทยาลัยเด็กได้เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าสัมผัสประสบการณ์ของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในกว่า 15 หน่วยงานเครือข่ายทั่วประเทศ ภายใต้หัวข้อ “สนุกวิทย์ คิดไปกับพ่อ” มีนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนต้นเข้าร่วมกว่า 2,000 คน ซึ่งในแต่ละหน่วยงานได้จัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ ที่ทำให้เยาวชนได้ปลดปล่อยจินตนาการในการตั้งข้อสังเกตุ การสืบเสาะ การแก้ปัญหา การวางแผน การสื่อสารและการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นการวางรากฐานความรู้และทักษะให้แก่เยาวชนให้มีความพร้อมในอาชีพสาขาสะเต็ม ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ พร้อมสอดคล้องกับแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ตัวอย่างกิจกรรมที่เยาวชนได้ฝึกทักษะในการรู้จักคิด รู้จักตั้งคำถาม การแก้ปัญหา การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันเป็นทีม คือ กิจกรรม “ในหลวงกับโครงการด้านสิ่งแวดล้อม” ที่สะท้อนถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรที่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำเสีย โดยเยาวชนต่างได้เรียนรู้ในการแก้ปัญหาน้ำเสียแบบง่ายๆที่ใช้แรงลม และร่วมกันสร้างนวัตกรรมที่ใช้ทฤษฎีและความรู้จาก “กังหันน้ำชัยพัฒนา” จากไม้ไอศกรีมและหนังยาง ซึ่งสร้างความสนุกสนานและเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้ถึงโครงการในพระนาชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เป็นประโยชน์แก่ปวงชนชาวไทย

อีกหนึ่งกิจกรรมที่ให้เยาวชนได้เรียนรู้ ได้แก่กิจกรรม “นมกับไข่” ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโปรตีนที่มีกระบวนการในการช่วยบรรเทาพิษที่ได้จากกรดชนิดรุนแรงที่อาจเข้าสู่ร่างกายอย่างไม่ตั้งใจ โดยเยาวชนต่างได้เลือกทดลองในการนำไข่ขาว กรดเข้มข้น หรือ เกลือโลหะหนัก มาผสมกับนมแล้วนำไปต้มในความร้อนเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาทางเคมีของนมที่ผสมกับโปรตีน กรด และ เกลือ จากการทดลองดังกล่าว เยาวชนต่างบันทึกการเปลี่ยนแปลงของนม พร้อมตั้งข้อสังเกตุของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละสะสาร ซึ่งเป็นการฝึกในทักษะทางด้านการสังเกตุ การตั้งคำถาม และการลงมือปฏิบัติจริง ทั้งนี้ เยาวชนยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในห้องแลป การใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย และการทำความสะอาดที่ถูกต้อง

นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว เยาวชนยังได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์พร้อมฝึกทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ไปกับกิจกรรมอื่นๆ เช่น ในหลวงกับโครงการด้านสาธารณสุข ในหลวงกับโครงการด้านเทคโนโลยี กิจกรรมโลกของรังสี จุลชีววิยามหาสนุก  นักสืบเม็ดแป้ง (พฤษศาสตร์) และ วัสดุเอยทำไมถึงร้อน และอื่นๆ

สำหรับโครงการรมหวิทยาลัยเด็กจะยังคงดำเนินต่อไปเพื่อให้เยาวชนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในการเรียนวิทยาศาสตร์ที่สนุกสนานและสร้างสรรค์ และร่วมสัมผัสกับการเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบใหม่ สำหรับกิจกรรมในครั้งต่อไปจะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในระหว่างเดือนตุลาคม 2560 – มีนาคม 2561 ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.childrensuniversity.in.th/

   Newsletter Issue 17 TH_Final

Date

November 16, 2017

Category

Newsletter