Alienum phaedrum torquatos nec eu, vis detraxit periculis ex, nihil expetendis in mei. Mei an pericula euripidis, hinc partem.
 

จดหมายข่าวโครงการ Chevron Enjoy Science ฉบับที่ 38

จดหมายข่าวโครงการ Chevron Enjoy Science ฉบับที่ 38

การติดตามและประเมินผลโครงการChevron Enjoy Science:

สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต

ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคตได้เริ่มดำเนินการประเมินผลโครงการทางการศึกษา โดยได้ร่วมมือทางวิชาการการกับผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผล และผู้เชี่ยวชาญทางการวิจัย ทำการติดตามและประเมินผลกระทบของการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทยในหลากหลายแง่มุม

จากการติดตามและประเมินผลตลอดระยะเวลา 5 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มต้น (Baseline) ระยะกลาง (Midline) และระยะสิ้นสุดโครงการ (Endline) ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกบ่งชี้ว่าการมีส่วนร่วมและความมั่นใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนักศึกษาอาชีวะมีความมั่นใจในการทำงานจริงมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ครูที่เข้าร่วมการอบรมกับโครงการฯ สามารถจัดการเรียนรู้ได้ดีขึ้นผ่านรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะและเน้นไปที่การลงมือปฏิบัติจริง

ผลการประเมินระยะสิ้นสุดโครงการ (Endline) ถือเป็นอีกก้าวแห่งความสำเร็จของโครงการฯ เนื่องจากเป็นการประเมินผลครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาในระบบการศึกษาไทย การประเมินผลครั้งนี้จะประสบความสำเร็จไม่ได้หากไม่มีการทำงานร่วมกันของพันธมิตรหลายฝ่าย รวมถึง Management Systems International หรือ MSI ซึ่งเป็นองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลชั้นนำจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกอย่างเข้มข้นเพื่อเข้ามาทำหน้าที่องค์กรภายนอกในการประเมินผล(Third party evaluator) โดยคัดเลือกมาจาก 16 องค์กรจากทั่วโลกที่ยื่นเสนอต่อโครงการ

อีกส่วนสำคัญของความสำเร็จในครั้งนี้คือคณะนักวิจัยไทย (National Research Team – NRT) ซึ่งเป็นคณะทำงานที่รวมนักวิจัยกว่า 80 คน จาก 16 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ประกอบไปด้วยคณาจารย์และนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งในด้านการจัดการเรียนรู้ด้านสะเต็มศึกษา และการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ (TVET)โดยคณะนักวิจัยได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับระบบการศึกษาไทยมาประยุกต์เข้ากับระเบียบวิธีการประเมินผลตามมาตรฐานสากลขององค์กร MSI จากการเข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถที่จัดขึ้นโดยโครงการฯ มากกว่า 20 ครั้ง ส่งผลให้คณะนักวิจัยไทย ได้ค่อย ๆ เรียนรู้และเติบโตจนกลายเป็นเครือข่ายนักวิจัยที่รวบรวมนักวิจัยระดับมาตรฐานสากลจากทั่วประเทศ อีกทั้งยังทำการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจนสามารถผลิตผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการโดยนำเสนอประเด็นเนื้อหาเชิงนโยบายของการปฏิรูปการศึกษาในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งมี 6 บทความ ทั้งที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วและอยู่ระหว่างการเตรียมต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยและต่างประเทศ

อ่านต่อ

Enjoy Science Newsletter 38_TH

Date

March 20, 2020

Category

Newsletter